การประหยัดพลังงานในอาคารและการแก้ปัญหาคุณภาพไฟฟ้า: ทฤษฎีและกรณีศึกษา

การประหยัดพลังงานในอาคารมีความสำาคัญต่อทั้งเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม โดยช่วย ลดค่าใช้จ่ายในการดำาเนินงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นปัจจัยหลักของภาวะ โลกร้อน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพช่วยส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ลดความต้องการพลังงาน และลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนพลังงานในอนาคต นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการพัฒนาระบบพลังงานที่มั่นคงมากขึ้นและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การปรับปรุงการใช้พลังงานในอาคารช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตและความสะดวกสบายให้กับ ผู้ใช้งาน ทำาให้การอยู่อาศัยและการทำางานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

คุณภาพไฟฟ้าเป็นสิ่งที่มีความสำาคัญต่อทั้งผู้ผลิตไฟฟ้าและผู้ใช้ไฟฟ้า คุณภาพไฟฟ้าที่ดี ทำาให้ระบบไฟฟ้าสามารถจ่ายไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ และผู้ใช้ไฟฟ้าเองก็สามารถ ใช้ไฟฟ้าที่มีคุณภาพในการผลิต อย่างไรก็ตามสิ่งรบกวนทางคุณภาพไฟฟ้าในระบบไฟฟ้ากำาลัง มีมากมาย เช่น ฮาร์มอนิก (Harmonic) แรงดันตกชั่วขณะ (Voltage Sag หรือ Voltage Dip) ไฟกระพริบ (Flicker) แรงดันไม่สมดุล (Unbalance) เป็นต้น สิ่งรบกวนทางคุณภาพไฟฟ้า เหล่านี้สามารถก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ในระบบไฟฟ้าได้ การที่จะวิเคราะห์ปัญหาจากสิ่งรบกวน ทางคุณภาพเหล่านี้ให้ถูกต้องได้นั้น ผู้วิเคราะห์ต้องมีความรู้และความเข้าใจในคุณลักษณะต่างๆ ของสิ่งรบกวนทางคุณภาพเหล่านี้ก่อน จึงจะสามารถทำาการแก้ไขได้อย่างเหมาะสมและมี ประสิทธิภาพ

สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) หรือ IEEE Power & Energy Society (Thailand) ได้เล็งเห็นถึงความสำาคัญจึงจัดให้มีการสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง “การประหยัดพลังงานในอาคารและการแก้ปัญหาคุณภาพไฟฟ้า: ทฤษฎีและกรณีศึกษา (Energy Conservation and Power Quality Solutions: Theory and Case Studies)” ซึ่ง จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ โดยการสนับสนุน วิชาการจาก สถาบันอุดมศึกษาในประเทศ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้า นครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และวิศวกรจากบริษัทเอกชนที่มีประสบการณ์ในการแก้ไข ปัญหาคุณภาพไฟฟ้าและการป้องกันระบบไฟฟ้า ทั้งในภาคทฤษฎีและงานภาคปฏิบัติโดยตรง

วัตถุประสงค์

1. สร้างความรู้ด้านการประหยัดพลังงาน
2. สร้างความรู้ด้านการวิเคราะห์ปัญหาทางคุณภาพไฟฟ้า
3. สร้างความรู้ด้านการแก้ไข ปัญหาทางคุณภาพไฟฟ้า
4. เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมอบรม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา ทางคุณภาพไฟฟ้า
5. รับทราบแนวทาง เทคนิค การ แก้ไขปัญหาต่างๆ จากผู้ เชี่ยวชาญโดยตรง

กลุ่มเป้าหมาย

1. วิศวกรโรงงานอุตสาหกรรม
2. อาจารย์มหาวิทยาลัยและบุคคล ทั่วไปที่สนใจ

Event Details
Event Details